เกี่ยวกับฉัน

(ทองเอก เมืองบุรีรัมย์)

(ขับร้อง เพลงกันตรึม)

ศิลปินพื้นบ้านอีสานใต้ การแสดงพื้นบ้านอีสานใต้


    นายอัครชัย ประประโคน หรือ ครูทองเอก เมืองบุรีรัมย์ เกิดเมื่อวันที่ ๑๑ เดือน มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๔๐ ภูมิลำเนาบ้านเลขที่ ๑๔๒ หมู่ ๔ บ้านเขว้า ตำบลโคกขมิ้น อำเภอพลับพลาชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ๓๑๒๕๐ จบการศึกษาปริญญาตรีหลักสูตรพุทธศาสตร์บัญฑิต คณะครุศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

    ครูทองเอก เมืองบุรีรัมย์ นามอันเป็นที่รู้จักในพื้นที่อีสานใต้โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ ด้วยน้ำเสียงที่ไพเราะ ลีลาการวาดฟ้อนร่ายรำการแต่งกายที่เป็นเอกลักษณ์ และการมีปฏิภารการด้นเพลงการด้นกลอนร้องสดในงานต่างๆทั้งภาษาเมขรถิ่นไทย และภาษาไทย รวมถึงความสามารถในการประพันธ์เพลงกันตรึม ในแบบฉบับภาษาพื้นบ้าน และฉบับภาษาไทย รวมถึงภาษาต่างประเทศ ด้วยภาษาที่งดงามครบถ้วนด้านวรรณศิลป์แบบเชิงอนุรัษ์ สู่การสร้างสร้างสรรค์ผลงานการชุดแสดงแบบพื้นบ้านร่วมสมัยแนวอนุรักษ์สื่อถึงอัตลักษณ์ของท้องถิ่น สร้างสรรค์เรื่องเล่าประเพณีวรรณกรรมพื้นบ้านในรูปแบบต่างๆเพื่อให้เกิดความสนใจของผู้คน และเกิดความเข้าใจง่ายในสิ่งที่สื่อสารนำเสนอปัจจุบันแต่ยังคงเอกลักษณ์แบบฉบับพื้นบ้านที่ทรงคุณค่ายิ่ง และเป็นศิลปินเยาวชนที่มากด้วยความสามารถ ทั้งด้านการแสดงพื้นบ้าน และเป็นผู้มีความรู้ความเข้าใจในขนบธรรมเนียมประเพณี ศาสนาวัฒนธรรมพิธรกรรมความเชื่ออีสานใต้อย่างลึกซึ้ง อีกทั้งเป็นผู้ที่เชี่ยวชาญทางด้านภูมิปัญญาปราชญ์ชาวบ้านที่แตกฉานอีกด้วย

    ครูทองเอก เมืองบุรีรัมย์ เกิดมาในครอบครัวที่มีความลำบากยากจน มีอาชีพทำนาและรับจ้างทั่วไป ท่ามกลางครอบครัวที่ไม่สมบูรณ์ต้องอาศัยกับมารดา เมื่อมารดาต้องไปทำงานต่างจังหวัดจึงต้องนำครูทองเอก และน้องชายอีกคนไปฝากกับผู้ที่ตายายช่วยดูแลตั้งแต่จำความได้ช่วยแบ่งเบาภาระคอบครัวทำงานบ้าน ช่วยทางครอบครัวเก็บผักขาย ทำขนมขายที่โรงเรียนเป็นประจำ รับจ้างขนต้นกล้าข้าว ขนฟ่อนข้าว ขนฟาง ตัดไม้ทำฟืนเผาถ่านขายหารายได้อยู่เสมอแทบไม่ได้วิ่งเล่นกับเพื่อนในวัยที่ควรจะเป็นเลย

    ครูทอเอก เมืองบุรีรัมย์ เป็นผู้ที่มีความสนใจในดนตรีพื้นบ้านกันตรึม มโหรี ตั้งแต่จำความได้ ชอบฟังเพลงกันตรึมแล้วก็ร้องตามเทปแผ่นเสียงวิทยุ หรือเตรท่องเสียงที่เปิดตามงาน เวลามีวงดนตรีพื้นบ้านกันตรึมมาแสดงใกล้บ้านก็จะไปรับชมเสมอ เมื่อกลับจากชมก็จะฝึกร้องฝึกรำแต่งตัวตามที่ตนไปชมมาเสมอ เวลามีกิจกรรมที่โรงเรียนจัดขึ้นครูทองเอกจะได้คัดเลือกเป็นผู้แสดงในทุกกิจกรรมเสมอ ถึงแม้ว่าทางครอบครัวจะไม่มีใครมีความรู้ความสามารถเรื่องการแสดงพื้นพื้นบ้านกันตรึมเลยก็ตาม และครอบครัวไม่สนับสนุนให้มีอาชีพทางด้านการแสดง อาชีพเต้นกินรำกินเลย แต่ครูทองเอกก็ยังคงแอบฝึกแอบเรียนรู้อยู่เสมอ หลายครั้งที่ครูทองเอกต้องแอบครอบครัวไปขอวิชาความรู้จากบรมครูเพลงพื้นบ้านในชุมชนครูอาวุโสหลายท่าน จัดทำพานครูดอกไม้ธูปเทียนด้วยตนเองเพื่อที่จะไปขอฝากตัวเป็นศิษย์แต่ก็โดนปฏิเสธไปหลายต่อหลายครั้ง ด้วยความที่ยังเป็นเด็กมีอายุเพียง ๙ ปี ด้วยวัยวุฒิ ด้วยทุนทรัพย์ที่ครูเพลงเรียกเก็บในการศึกษาทำให้ครูทองเอกต้องกลับบ้านอย่างผิดหวังอยู่บ่อยครั้ง ด้วยควมตั้งใจของครูทองเอกทำให้ครูเพลงเห็นใจจึงรับเป็นศิษย์ ด้วยความที่ครูมีอายุมากแล้วเกรงว่าจะสอนได้ไม่เต็มที่ จึงพาครูทองเอกไปฝากกับหลวงพ่อผู้ที่เคยเป็นศิลปินนักร้องนักดนตรีเพลงพื้นบ้านเมื่ออดีตก่อนบวชทำให้ครูทองเอกได้เป็นลูกศิษย์วัด ได้เรียนรู้ทั้งด้วยคำร้องการเดินกลอน และทางธรรม วัฒนธรรมประเพณี หลายศาสตร์ศิลป์ควบคู่ไปด้วยกัน การสอนการเรียนรู้แบบมุขะปาฐะ ด้วยเป็นผู้ที่มีความจำดีทำให้ครูทองเอกจดจำในสิ่งที่ตนศึกษาได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ครูทองเอกได้ศึกษากับครูเพลงอีกหลายท่าน จึงทำให้ครูทองเอกอยากเข้าไปอยู่ในวงดนตรีพื้นบ้านกันตรึมร่วมแสดงกับศิลปินชั้นครู โดยการเสนอตัวขอติดตามไปแสดงอาสาช่วยยกของเก็บของ เมื่อนักดนตรีของทางวงพัก ครูทองเอกก็จะแอบร้องกลอน รำตามผู้แสดงอยู่ข้างๆเวที บางครั้งก็อาสาช่วยเล่นดนตรี ตีฉิ่งฉาบกรับ ยามที่นักดนตรีพัก เป็นสิ่งที่ครูทองเอกรอคอยมากที่สุดที่จะได้ขึ้นบนเวที บางครั้งได้เป็นนายรำบนเวที ได้ร้องเพลงกันตรึมขั่นเวลาศิลปินหลักพัก ด้วยน้ำเสียงการแต่งกายลีลาการร่ายรำที่เป็นเอกลักษณ์ในวัยเด็กทำให้ผู้ชมมีรอยยิ้มมีเสียงหัวเราะเกิดความสนใจได้รับคำชื่นชมเสียงปรบมือเป็นอย่างดี โดยไม่ได้คิดถึงค่าจ้างค่าตัวแม้แต่น้อยขอเพียงแต่ได้ติดตามครูเพลงไปแสดงในงานต่างๆก็แสนดีใจ

    ครูทองเอก เมืองบุรีรัมย์ ในวัย ๑๕ ปี ในปีพุทธสักราช ๒๕๕๔ ด้วยประสบการณ์ ด้วยความพากเพียรความตั้งใจในการศึกษาในสิ่งที่ตนชื่นชอบ ทำให้ครูทองเอกขออนุญาตครอบครัวชวนเพื่อนร่วมห้องเรียน ตั้งวงกันตรึมพื้นบ้านวงเล็กๆ มีสมาชิกทั้งวง ๗ คนรับงานแสดงที่ชุมชนจัดขึ้นโดยเน้นถึงงานมงคลต่างๆ ได้รับนิยมเป็นอย่างมาก ในราคาจ้างที่ ๗๐ ถึง ๓๐๐ บาททั้งวงแบ่งกันได้คนละ ๑๐ – ๓๐ บาทหรืตามราคาว่าจ้างมากน้อย บางงานก็อาสาไปฟรีขอเพียงแต่ได้แสดงหากเจ้าภาพเมตตาก็จะมีน้ำใจให้เล็กๆน้อยๆโดยไม่มีการเซ็นสัญญางาน การเรียกเก็บค่ามัดจำ ถึงปัจจุบัน โดยยังไม่มีชื่อวง ยังไม่มีชื่อประจำตัวศิลปิน เพลงแต่ชาวบ้านต่างเรียกว่า “กันตรึมโกญกะเมง” ที่แปลว่า “กันตรึมเด็กน้อย”เป็นที่รู้จักของคนในชุมชน และชุมชนใกล้เคียง หากจะติดต่องานเจ้าภาพต้องมาตามหาที่บ้าน และที่โรงเรียนเท่านั้นเพราะยังไม่มีเครื่องมือในการสื่อสาร หากจะเดินทางไปแสดงต้องให้ทางเจ้าภาพหารถมารับไปแสดงมารับที่บ้านไปงาน ทำให้ครูทองเอก มีชื่อเสียง ได้ชื่อทางศิลปินว่า “กันตรึมอวยชัย” มาจากที่ครูทองเอกไปแสดงงานมงคลต่างๆร้องกลอนเกี่ยวกับการอวยพรการอวยชัยชาวบ้านจังตั้งชื่อให้ว่า “กันตรึมอวยชัย” “อัครชัย ประประโคน” ครูทองเอกรับงานแสดงควบคู่กับการศึกษาในโรงเรียนโดยใช้เวลาว่างหารายได้หาทุนการศึกษาส่งตนเอกเรียนจากมัธยมต้นถึงระดับอุดมศึกษา หารายได้ให้กับครอบครัว ทำให้ครูประจำชั้นคัดตัวครูทองเอกเข้าฝึกซ้อมเพื่อเป็นตัวแทนของโรงเรียน การร้องเพลง การท่องกลอน การแต่งกลอน การประกวดดนตรีพื้นบ้านได้รางวัลชนะเลิศ ทั้งระดับเขต ระดับภาค และระดับประเทศหลายรางวัล

    ครูทองเอก เมืองบุรีรัมย์ ได้ยึดอถือการแสดงกันตรึมพื้นบ้านเป็นอาชีพตลอดมา แสดงและเผยแพร่ศิลปะกันตรึม ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับผู้ที่สนใจ อุทิศตนจิตอาสาทั้งใน และนอกสถานศึกษา ทั้งภาครัฐ และเอกชน สอนฟรีไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น ถึงแม้ว่าโลกปัจจุบันจะปลี่ยนแปลงไปสู่ความทันสมัยอย่างรวดเร็ว ครูทองเอก ก็ยังคงรักษาความเป็นเอกษณ์ของกันตรึมพื้นบ้านไว้ จังหวะ ทำนอง ทั้งยังสร้างชื่อเสียงให้กับชุมชน สถาบัญการศึกษา และจังหวัด จึงทำให้ได้รับชื่อศิลปินใหม่ว่า “ทองเอก เมืองบุรีรัมย์” ผู้พิทักษ์และสืบทอดพิธีกรรมทางศาสนา การแสดงศิลปวัฒนธรรมประจำจังหวัดบุรีรัมย์ ป๊ ๒๕๖๐ ใช้นามศิลปิน ทองเอก เมืองบุรีรัมย์ ถึงปัจจุบัน

    ครูทองเอก เมืองบุรีรัมย์ เป็นผู้ที่มีผลงานด้านการแสดงกันตรึมพื้นบ้าน เป็นผู้ที่มีผลงาน และสร้างสรรค์ผลงาน เช่น ชุดการแสดง บทกลอนเทิดพระเกียรติฯ กันตรึมอวยชัย มโหรีอวยพร มรดกศิลป์ถิ่นภูเขาไฟ อมรศิลป์ถิ่นพนมเพลิง เพลงเชิญเที่ยวบุรีรัมย์ ชุดการแสดงจรีงสไบ เรื่องท้าวปาจิต อรพิม เป็นต้น จากประสบการณ์ตั้งแต่วัยเด็กถึงปัจจุบัน กอปรกับความวิริยะอุตสาหะ ความใฝ่รู้ความสามารถในการร้องกันตรึมพื้นบ้านมีผลงานเป็นที่ประจักษ์เป็นที่ยอมรับทั้งในครอบครัว ชุมชน และสังคมจึงได้รับรางวัลหลายรางวัล ดังนี้

  • พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานชนะเลิศการประกวดการขับร้องเพลงพื้นบ้านเฉลิมพรเกียรติ โครงการรักษ์ภูมิแผ่นดินไทย วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๖ จัดโดยกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับกระทรวงวัฒนธรรม
  • รางวัลชนะเลิศการประกวดดนตรีพื้นบ้าน กันตรึมมโหรี ถ้วยรางวัลพระราชทานสมเด็จพระสมเด็จพระ นางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ประจำปี พ.ศ. ๒๕๔๖ ณ ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร จัดโดยกระทรวงวัฒนธรรม
  • รางวัลชนะเลิศอันดับที่๑ ถ้วยรางวัลพระราชทานสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมงกุฎราชกุมาร การประกวดดนตรีและเพลงพื้นบ้าน ในงานเฉลิมพระเกียรติ ๑๒ สิงหา มหาราชินี ประเภทครอบครัว ศูนย์ศิลปาชีพบางไทรครั้งที่๔ ปี พ.ศ.๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๖ เดือน สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๐ จัดโดยกระทรวงวัฒนธรรม
  • รางวัลชนะเลิศอันดับที่๑ ถ้วยรางวัลพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการประกวดดนตรีและเพลงพื้นบ้าน ประเภท วงกันตรึม ในวันอนุรักษ์มรดกไทย ปีพ.ศ.๒๕๕๑ วันที่ ๒ เดือนสิงหาคม ปี พุทธศักราช ๒๕๕๑ จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม
  • รางวัลชนะเลิศอันดับที่๑ ถ้วยรางวัลพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการประกวดนาฎศิลป์ สร้างสรรค์ และเพลงพื้นบ้าน ระดับเยาวชน ประเภท วงมโหรีพื้นบ้าน ปี พ.ศ.๒๕๕๒ จัดโดยสำนักงานกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม
  • รางวัลพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี การประกวดดนตรีและการแสดงพื้นบ้าน พุทธศักราช ๒๕๕๓ ระดับเยาวชนประเภทวงกันตรึมมโหรี วันที่๒ เดือน เมษายน พุทธศักราช ๒๕๕๓ จัดโดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม
  • รางวัลพระราชทานสมเด็จสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี การประกวดดนตรีและการแสดงพื้นบ้าน พุทธศักราช๒๕๕๗ ระดับเยาวชน ประเภทวงกันตรึม วันที่ ๒ เดือน เมษายน ๒๕๕๗ จัดโดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม
  • รางวัลชนะเลิศ รางวัลถ้วยพระราชทานสมเด็จสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี การประกวดขับร้องเพลงพื้นบ้าน ๔ ภาค ให้ไว้ ณ วันที่ ๒ เมษายน ๒๕๖๔ จัดโดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม
  • รางวัลชนะเลิศ รางวัลถ้วยพระราชทานสมเด็จสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี การประกวดบทกวีคีตะศิลป์พื้นบ้านเฉลิมพระเกียรติ ระดับเยาวชน วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ ณ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดบุรีรัมย์ จัดโดย กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม
  • รางวัลชนะเลิศ รางวัลพระราชทานทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี การประกวดสื่อเพลงต้นแบบเก่งและดี TO BE NUMBER ONE ประเภทเยาวชน ในระดับอุดมศึกษา ประจำปี ๒๕๖๐
  • โล่รางวัลเชิดชูเกียรติ วัฒนคุณาธร ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อกระทรวงวัฒนธรรม ประเภทเด็ก หรือ เยาวชน ให้ไว้ ณ วันที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๖๓ ณ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม
  • ชนะเลิศการประกวดดนตรี และการแสดงพื้นบ้านอีสานใต้บุรีรัมย์ จัดโดยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดบุรีรัมย์วันที่ ๒๒ เดือน กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ ณ ลานวัฒนธรรมจังหวัดบุรีรัมย์
  • รับโล่ประกาศกิตติคุณ การส่งเสริมการจัดกิจกรรมนันทนาการพื้นบ้าน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือจังหวัดบุรีรัมย์ วันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๒ จัดโดยสำนักงานพัฒนาการกีฬา และนันทนาการ
  • โล่รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ ๑ การประกวดวงมโหรีอีสานใต้ ในงานราชภัฏบุรีรัมย์มหกรรมวิชาการ และวัฒนธรรมนานาชาติ พุทธศักราช ๒๕๕๘ (BRICC Festival 2015) โดยคณะมนุษย์ศาสตร์
  • รางวัลเยาวชนดีเด่น ประจำปี ๒๕๖๔ ด้านคุณธรรมจริยธรรม เนื่องในวันเยาวชนแห่งชาติ วันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๖๔ จัดโดย เทศบาลตำบลโคกขมิ้น อำเถอพลับพลาชัย จังหวัดบุรีรัมย์
  • รางวัลคนดีศรีแผ่นดินจังหวัดบุรีรัมย์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกบุรีรัมย์เขต ๒ ระดับกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษา ตามโครงการสร้างคนดีสู่สังคม ณ วันที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๕๕
  • รางวัลชนะเลิศ การแข่งขันท่องบทอาขยานทำนองเสนาะ ระดับชั้น ม.๔ – ม.๖ งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๖ วันที่ ๙ ตุลาคม ๒๕๕๖
  • รางวัลชนะเลิศ การแข่งขันท่องบทอาขยานทำนองเสนาะ ระดับชั้น ม.๔ – ม.๖ งานศิลปหัตถกรรมนักเรียนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ครั้งที่ ๖๓ ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๖ วันที่ ๑๐ – ๑๓ ธันวาคม ๒๕๕๖ ณ จังหวัดนครพนม จังหวัดมุกดาหาร
  • เกียรติบัตรนักเรียนดีเด่นทำคุณประโยชน์ด้านศิลปวัฒนธรรมการแสดงดนตรีและการแสดงพื้นบ้าน ตามโครงการคัดเลือกนักเรียนดีเด่นเพื่อรับรางวัล “คนดีศรีปันโร” ปีการศึกษา ๒๕๕๗ ให้ไว้ วันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๕๗ ณ โรงเรียนพลับพลาชัยพิทยาคม
  • เกียรติบัตรการเข้าร่วมการประกวดดนตรีและการแสดงพื้นบ้าน พุทธศักราช ๒๕๕๗ ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จัดโดย กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม วันที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๕๗
  • เกียรติบัตรการเข้าร่วมงานสืบสานประเพณี ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม โครงการประเพณีแซนโฏนตาบูชาบรรพบุรุษ ประจำปี ๒๕๕๙ วันที่ ๒๙ – ๓๐ กันยายน ๒๕๕๙ ณ ลานวัฒนธรรมอำเภอพลับพลาชัย จังหวัดบุรีรัมย์
  • เกียรติบัตรการบำเพ็ญประโยชน์ด้านผู้นำทางศาสนา และวันสำคัญทางศาสนา ทำนุบำรุงศาสนา วัดเขว้าเขาดิน อำเภอพลับพลาชัย จังหวัดบุรีรัมย์ วันที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๖๑
  • เกียรติบัตรการเข้าร่วมในโครงการสัมมนาเชิงวิชาการ พุทธจิตวิทยากับการพัฒนาตนเอง หลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต วันที่ ๕ กันยายน ๒๕๖๒ ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ผลงานล่าสุด ถ่ายละครเรื่อง มนต์รักกันตรึม Soft Power การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย วัฒนธรรมจังหวัดบุรีรัมย์ทางช่องONE ช่อง ๓๑

      การแสดงดนตรีพื้นบ้านอีสานใต้กันตรึม มโหรี รวมถึงขนบธรรมเนียมประเพณีวิถีชีวิตพหุวัฒนธรรม การแสดงดนตรีพื้นบ้านและขนบธรรมเนียมของอีสานใต้ไม่เพียงแต่เป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น แต่ยังเป็นการส่งต่อภูมิปัญญาและคุณค่าทางจิตวิญญาณที่ลึกซึ้งจากรุ่นสู่รุ่น ทำให้คนรุ่นหลังได้เข้าใจและเห็นคุณค่าของมรดกทางวัฒนธรรมที่มีคุณค่ายิ่งนี้

๑๔๒ หมู่ ๔ บ้านเขว้า ตำบลโคกขมิ้น อำเภอพลับพลาชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ๓๑๒๕๐

ติดตาม - ติดต่อ

© Thongek-Folkmusic All rights reserved. Powered by Over425.com